สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 371  ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริงหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2563 ขณะเกิดเหตุจำเลยใช้อาวุธจี้ที่หลังผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายนั่งคร่อมอยู่บนรถจักรยานยนต์ ผู้เสียหายเบิกความและให้การว่า เมื่อหันไปมอง คนร้ายก็ร้องห้ามในทันทีว่าไม่ให้หันไปมอง เชื่อว่า ผู้เสียหายต้องเกิดความกลัวและไม่กล้าหันมองไปอีก ผู้เสียหายจึงมีเวลาหันไปมองอาวุธที่จำเลยใช้จี้หลังผู้เสียหายในระยะเวลาอันสั้นมาก ทำให้สงสัยว่าผู้เสียหายมีโอกาสเห็นอาวุธที่คนร้ายใช้จี้หลังผู้เสียหายเป็นอาวุธปืนดังที่ให้การในชั้นสอบสวนหรือไม่ หรือเป็นเพียงความเข้าใจของผู้เสียหายเองว่าเป็นอาวุธปืน จึงฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายเห็นอาวุธที่จำเลยใช้จี้ชิงรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายว่าเป็นอาวุธปืน ประกอบกับเจ้าพนักงานตำรวจไม่สามารถตรวจยึดอาวุธปืนได้จากจำเลย พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงยังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยมีและใช้อาวุธปืนชิงรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคแรก เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์เป็นที่สงสัยว่าจำเลยมีและใช้อาวุธปืนในการชิงรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายหรือไม่ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แม้ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องในความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2562 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายทั้งสองเข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์เท่านั้น ส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 และความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย จึงไม่อนุญาต เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 โจทก์ไม่อุทธรณ์ ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 และความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมทั้งสองไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสองในความผิดดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสองในความผิดดังกล่าว แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 4 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2558

ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 ซึ่งมีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท และศาลชั้นต้นลงโทษปรับ 100 บาท นั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ และถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ส่วนความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่น ฐานร่วมกันยิงปืนโดยใช่เหตุ ฐานร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่น และฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและให้ลงโทษจำเลยแต่ละกระทงจำคุกไม่เกินห้าปี จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาในความผิดฐานดังกล่าวมาโดยสรุปได้ความในทำนองว่า พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองมีพิรุธน่าสงสัย ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิด ข้อฎีกาดังกล่าวเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร